1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ความเป็นครูของพระองค์ท่านคือ “ ทรงทำให้ดู ” เป็นครูที่พยายามที่จะจูงใจนักเรียนให้มาสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ และเมื่อจะสอนให้คนดี ครูต้องดีก่อน จะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นอย่างนั้นก่อน การเรียนไม่ใช่เรียนในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้นแต่บางอย่างเราต้องเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จริงด้วย และพระองค์ท่านยังทรงสอนให้เคารพคน ให้รู้จักคน ให้เข้าใจคน ให้ รู้ รัก สามัคคี ปรองดองกัน
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน คือข้าพเจ้าจะนำแนวทางการสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ โดยในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ข้าพเจ้าจะทำให้นักเรียนดูก่อน เพื่อที่จะจูงใจให้นักเรียนสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนเข้าใจ จะสอนในด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย และข้าพเจ้าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนด้วย
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะออกแบบการเรียนการสอนโดยข้าพเจ้าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะทำให้นักเรียนดูก่อน เช่น สอนเรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากทรงเรขาคณิต ข้าพเจ้าก็จะประดิษฐ์ของใช้จากทรงเรขาคณิตให้นักเรียนดูก่อน เพื่อจูงใจให้นักเรียนสนใจ เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจก็อธิบายและตอบคำถามจนนักเรียนเข้าใจ และในการสอนของข้าพเจ้าแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะสอดแทรกทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนด้วย
2.บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ (วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอ่านหน้าที่ 125-128)
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการ“ฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี
2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น