วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค




1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน

แท็บเล็ตคืออะไร
       แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           งานเขียนของคุณ  สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย        
           นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่26สิงหาคม 2554  เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ  ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber  Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet  for  Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
            จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata  ICT  Research  ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้

ด้านการเรียน
         การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง

ด้านหลักสูตร
         สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 ที่มา บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
             บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อารีราษฎร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธา อารีราษฎร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
             จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับ 125 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม 2555  เรื่องแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนสาธิตในสังกัด สกอ. ๑๒ แห่ง ได้รับ ๑,๓๑๔ เครื่อง


2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

"สมาคมอาเซียน"
สมาคมอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศที่รวมเป็นสมาชิก คือ   ไทย มาเลย์เซีย สิงคโบร์ ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า
ความเป็นอาเซียน คือ “ หนึ่งวิสัยทัศน์หนึ่งเอกลักษณ์หนึ่งประชาคม” นี้คือ วิสัยทัศน์ของสมาคมอาเซียน
            การสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียนทางการศึกษา โดยการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับอาเซียน โดยการปฏิรูประบบกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย การจัดโครงการความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงโลก
            การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษาเพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน
ต้องมีการเตรียมเรื่องภาษาอังกฤษให้มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐานวิชาชีพนี้คือปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับครู นักเรียนนักศึกษาของไทย และสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การให้เยาวชนรู้สังคมวัฒนธรรมประชาคมอาเซียนมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ และความเคลื่อนไหวของประเทศคู่เจรจาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยการวัดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานระดับสากลจัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ปฎิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง โดยการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นส่งเสริมความรู้มายังผู้เรียนให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก
            การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง ดังนั้นการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนในยุคใหม่ภายใต้สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก เพื่อมุ่งสร้างความเป็นสังคมแห่งอาเซียน เชื่อได้ว่าสังคมไทยสามารถยกระดับการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนได้อย่างภูมิใจและมีศักดิ์ศรี
ที่มา :   บทความย่อ เรื่อง การเตรียมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภณ ใจสมัคร
             บทความเรื่อง การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน : ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ
โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ



3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
         "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องศรัทธาคือครูต้องมีความศรัทธาในตัวลูกศิษย์ ไม่ว่าลูกศิษย์จะเป็นอย่างไร มีความไว้วางใจในตัวลูกศิษย์และสามารถทำให้ลูกศิษย์ไว้วางใจในตัวอาจารย์ได้คือสามารถเก็บความลับได้ สร้างแรงบันดาลใจครูสามารถสอนให้ลูกศิษย์เกิดความคิดแปลกใหม่และผลักดันให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นได้ ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคลคือการที่ครูต้องยอมรับความคิดเห็นในลูกศิษย์ทุกคน
        “ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ  ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นว่าครูต้องหาหนังสือดีๆมาอ่านทำไมถึงต้องหาหนังสือที่ขายดีที่สุดมาอ่าน เพราะหนังสือที่ขายดีต้องมีสิ่งท่าสนใจ มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่แน่นอน
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูต้องมีความทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากโลกปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะครูต้องสามารถนำความรู้ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูต้องมีความรู้ในตัวเด็กเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาเด็กได้ หากเด็กคนใดมีปัญหาก้อสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูต้องเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก ไม่ปิดกั้นการเป็นผู้นำ ต้องให้เด็กเกิดทักษะที่จะเป็นผู้นำได้
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อจัดการเรียนการสอนก็ต้องมีการจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กทำงานรวมกลุ่มกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีและมีการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง เพราะการเชิญบุคคลภายนอกหรือวิทยาการมาสามรถทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้มากและเป็นความรู้ที่แท้จริง
 7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูต้องสอนให้เด็กคิดและลงมือทำ ในสิ่งแปลกใหม่ ตั้งโจทย์ที่แปลกใหม่เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาได้มากขึ้น


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า

   จากการเรียนวิชาการบริการจัดการในชั้นเรียน ได้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น มีความรู้ที่ไม่อยู่ในกรอบ คือสามารถเรียนรู้ได้มากว่าในห้องเรียน คือการเรียนแบบออนไลน์ก็ว่าได้ ได้เกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาด้วยตัวเองเยอะ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ หากมีการเรียนรู้แบบนี้สามารถทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากในโลกการเปลี่ยนแปลงวันข้างหน้ามีการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ต เราก็มีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีอยู่บ้างจึงเป็นการง่ายที่จะนำไปใช้ต่อไป
ถ้าถาว่าอยากได้เกรดอะไร อยากได้เกรด เพราะในการเรียนวิชานี้ดิฉันมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน แต่อาจจะมีบ้างครั้งที่มาสายไปบ้าง แต่ก็ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ ในการทำงานส่งบ้างครั้งอาจเป็นเพราะที่หอไม่มีอินเตอร์เน็ตหากทำงานส่งในห้องไม่ทันจึงทำให้การทำงานล่าช้าไปบ้างแต่งานทุกชิ้นที่ทำส่งเกิดจากการคิด วิเคราะห์ด้วยตนเองทั้งสิ้นอาจจะมีบ้างครั้งที่เข้าไปอ่าของคนอื่นแต่ไม่ได้คัดลอก แต่จะนำมาเป็นแนวทางในการตอบ โดยใช่ความคิดของตน สิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปทั้งหมดเป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้น หากมีสิ่งใดผิดพลาดประการใด ก็แล้วแต่อาจารย์จะพิจารณาในการให้คะแนน ขอบอบพระคุณอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธ์ ที่ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษามาโดยตลอดภาคการศึกษา

กิจกรรมที่ 10


เรียงความวันแม่
            “แม่” คำๆนี้เป็นเพียงคำสั้นๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง ท่านคือผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่งบนโลก แต่กลับเป็นคนพิเศษสำหรับลูกรัก แม่คือผู้ประเสริฐสุดในชีวิตทุกๆชีวิต เป็นผู้ที่สามารถให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่า หรือแม้กระทั่ง ลมหายใจที่ยังเหลืออยู่ของแม่
         ตลอดเวลาตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ จน ณ วินาทีนี้ แม่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ไม่มีสิ้นสุด แม่ให้ทั้งความรัก  ความห่วงหา ความห่วงใยความอาทร อีกทั้งยังมอบความรักที่มิอาจมิรักใดมาทดแทนได้ให้แก่เรา นั่นก็คือความรัก ความผูกพัน ระหว่าง “แม่ และ ลูก”  รักของแม่นั้นเปรียบดั่งสายธารา ที่คอยระงับความทุกข์ใจของลูก แม้ในยามที่ลูกไม่ต้องการ แต่เรานั้น…ไม่เคยนึกถึงความรู้สึกของแม่เลย เรากลับทำให้แม่ต้องเจ็บช้ำ เสียน้ำตา ในบางกิริยาที่เราแสดงออก ถึงกระนั้นก็ตาม ในเวลาที่ลูกรักมีปัญหา แม่ก็คือผู้ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ในเวลาที่ลูกรักต้องเสียน้ำตา  แม่ก็สละเวลาทำงานของแม่ มาคอยปลอบโยน ไม่คิดโกรธ หรือเคืองลูกรักแม้แต่น้อย ที่ในบางครั้งบางคราว ลูกรักก็ไม่เชื่อฟังคำที่แม่พร่ำสั่งพร่ำสอน ถ้าจะให้เปรียบพระคุณของแม่นั้นก็คงจะเปรียบประดุจ “ผืนทราย” ที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง เหมือนรักของแม่ที่มีแต่การให้เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน นอกจากรอยยิ้มของลูก ความรู้สึกที่แม่มีต่อลูกนั้นเปรียบประดุจดั่ง “พื้นน้ำ” ที่ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกา ในช่วงเวลาต่างๆในชีวิต เรานั้นก็ต่างผ่านอารมณ์ต่างๆมามากมาย ในเวลาที่เรามีความสุข แม่ก็มีความสุขไปกับเรา แต่ในเวลาที่เราทุกข์ แม่กลับทุกข์กว่าเราหลาย 10 หลาย 100 เท่า แต่ท่านก็ไม่เคยแสดงออกถึงความอ่อนล้า ความเหน็ดเหนื่อยของท่านให้เราได้สังเกตเห็นเลย แม่ของเรานี้ช่างอดช่างทนเหลือเกิน แต่ที่ท่านอดทนนี้ก็ด้วยความรัก ความห่วงใย และความผูกพันที่มีต่อลูกทั้งสิ้น ในชีวิตนี้ แม่ยอมโกหกเราเพื่อให้เรามีความสุข โกหกนั้นก็คือ คำว่า “ไม่เหนื่อย ไม่โกรธ ไม่เจ็บ ไม่เศร้า และไม่ในอีกหลายๆอย่าง” ของแม่ แม่พูดคำๆนี้ออกมาในความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นจริง แต่ที่โกหกนี้ก็เพื่อไม่ให้ลูกรักต้องกังวลถึงเรื่องของตนเอง 
        พระคุณที่แม่ได้มอบให้แก่เรา ไม่ว่าจะให้มีกระดาษกี่ร้อยกี่พันแผ่นก็ไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาได้หมดสิ้น หรือต่อให้นักพูดมืออาชีพมาบรรยาย ก็มิอาจจะพูดได้ลึกซึ้งเท่าใจสัมผัส ความรู้สึกนี้มัน “เกินจะบรรยาย” จริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมิอาจทดแทนได้

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การจัดห้องเรียน

ห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใสทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน

การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน ควรจัดให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
         การจัดโต๊ะครู ควรจัดให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้อง
         การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง ข้าง
         การจัดสภาพห้องเรียน ต้องจัดให้ มีอากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอเหมาะ ปราศจากสิ่งรบกวน และมีความสะอาด 

กิจกรรมที่ 8


ครูในอุดมคติ



        ครูในอุดมคติของข้าพเจ้าจะต้องมีความเมตตากรุณา รัก หวังดี ศิษย์ทุกคนโดยเท่าเทียมกันมีความยุติธรรม เที่ยงตรง เสียสละ มีจรรยาบรรณ ความเป็นครู กล่าวคือมีจิตวิญญาณความเป็นครู ที่สำคัญต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในศาสตร์วิชาที่จะสอนด้วยเข้าใจศิษย์ถึงความแตกต่างของศิษย์แต่ละคน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกันไปครูที่ดีจึงต้องพิจารณานักเรียนแต่ละคนเป็นรายบุคคลไป ใช้เหตุผลในการสอนไม่ใช้อารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่ มีความสุภาพอ่อนโยน แต่งตัวสุภาพ หน้าตาแจ่มใส่  นอกจากจะสอนให้นักเรียนรู้ในศาสตร์วิชาที่จะเรียนแล้วยังจะต้องสอนคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย เพื่อให้นักเรียนเป็นทั้งคนที่มีความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆกัน เป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไป

กิจกรรมที่ 7


             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง  และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
              เรื่องแผนภูมิกับการพรางตัว   ผู้สอน ผศ.พิมพ์พร อสัมภินพงศ์    ระดับชั้นที่สอนประถมศึกษาปีที่ 6
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
              เนื้อหาที่ใช้สอนจะเกี่ยวกับเรื่องแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟ และแผนภูมิวงกลม
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา   ครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  นำอุปกรณ์ต่างๆ เช่น  ใบไม้  ก้อนหิน  เหรียญ   และตาราง 100 ช่อง   มาใช้ในการนำเสนอข้อมูลแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟ และแผนภูมิวงกลม ซึ่งเมื่อนักเรียนได้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลก็จะสามารถทำการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนได้                                                                                                                       
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์  ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน   ทำให้นักเรียนไม่เบื่อและเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียน  
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม   ครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำและปลูกฝังความรับผิดชอบในการทำงานให้กับนักเรียน 
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
             บรรยากาศในการจัดห้องเรียนมีการจัดห้องเรียนอย่างสะอาด   มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย     โต๊ะ เก้าอี้  มีการจัดอย่างเป็นระเบียบ   ตามฝาผนังห้องเรียนมีการจัดแต่งโดยการติดข้อความหรือข้อมูลต่างๆที่ให้ความรู้แก่นักเรียน  และ เกิดความงามดูแล้วสบายตา 

กิจกรรมที่ 6

เศรษฐกิจพอเพียง

           จุดหมายในปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยและ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป พบว่า มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ในส่วนที่หนึ่ง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี สำหรับในส่วนที่สอง คือ เพื่อให้สมดุล (ทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
กรอบแนวคิด

เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา


คุณลักษณะ

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติตนบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ความพอเพียงที่ประกอบกันขึ้นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้

(1) ความพอประมาณ หมายถึง ความเหมาะสมของการดำเนินงาน ทั้งในแง่ของขนาดที่ไม่เล็กเกินไปหรือไม่ใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นไปตามอัตภาพและสภาพแวดล้อม และในแง่ของจังหวะเวลาที่ไม่เร็วเกินไปหรือไม่ช้าจนเกินไป แต่รู้จักทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้า โดยที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

(2) ความมีเหตุผล หมายถึง การพิจารณาที่จะดำเนินงานใดๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการดำเนินงาน ให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี


เงื่อนไข

การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

เงื่อนไขความรู้ หมายถึง เครื่องอาศัยของการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย ความรอบรู้ คือ ความรู้ลึกในงานที่ทำและความรู้กว้างในสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่ทำ ความระลึกรู้ (สติ) คือ การยั้งคิดพิจารณาและรู้ทันสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะกระทำการใดๆ และความรู้ชัด (ปัญญา) คือ การเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างกระจ่างชัด ถูกต้องตามเหตุตามผลและตามจริง

เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง เครื่องอาศัยของการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างดีงาม ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต คือ ความประพฤติชอบ มีการพูดและการกระทำซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง และไม่เอารัดเอาเปรียบ ความอดทน มีความเพียร คือ ความบากบั่น ความกล้าแข็ง มีความหนักแน่น ไม่ท้อถอย ทำให้การดำเนินงานรุดหน้าเรื่อยไปจนประสบผลสำเร็จ และความรอบคอบระมัดระวัง คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในทุกแง่ทุกมุมก่อนที่จะดำเนินงาน เพื่อมิให้เกิดความเผอเรอและพลั้งพลาด