วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค




1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน

แท็บเล็ตคืออะไร
       แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           งานเขียนของคุณ  สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย        
           นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่26สิงหาคม 2554  เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ  ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber  Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet  for  Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
            จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata  ICT  Research  ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้

ด้านการเรียน
         การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง

ด้านหลักสูตร
         สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 ที่มา บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
             บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อารีราษฎร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธา อารีราษฎร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
             จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับ 125 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม 2555  เรื่องแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนสาธิตในสังกัด สกอ. ๑๒ แห่ง ได้รับ ๑,๓๑๔ เครื่อง


2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

"สมาคมอาเซียน"
สมาคมอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศที่รวมเป็นสมาชิก คือ   ไทย มาเลย์เซีย สิงคโบร์ ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า
ความเป็นอาเซียน คือ “ หนึ่งวิสัยทัศน์หนึ่งเอกลักษณ์หนึ่งประชาคม” นี้คือ วิสัยทัศน์ของสมาคมอาเซียน
            การสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียนทางการศึกษา โดยการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับอาเซียน โดยการปฏิรูประบบกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย การจัดโครงการความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงโลก
            การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษาเพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน
ต้องมีการเตรียมเรื่องภาษาอังกฤษให้มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐานวิชาชีพนี้คือปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับครู นักเรียนนักศึกษาของไทย และสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การให้เยาวชนรู้สังคมวัฒนธรรมประชาคมอาเซียนมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ และความเคลื่อนไหวของประเทศคู่เจรจาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยการวัดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานระดับสากลจัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ปฎิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง โดยการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นส่งเสริมความรู้มายังผู้เรียนให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก
            การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง ดังนั้นการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนในยุคใหม่ภายใต้สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก เพื่อมุ่งสร้างความเป็นสังคมแห่งอาเซียน เชื่อได้ว่าสังคมไทยสามารถยกระดับการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนได้อย่างภูมิใจและมีศักดิ์ศรี
ที่มา :   บทความย่อ เรื่อง การเตรียมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภณ ใจสมัคร
             บทความเรื่อง การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน : ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ
โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ



3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
         "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องศรัทธาคือครูต้องมีความศรัทธาในตัวลูกศิษย์ ไม่ว่าลูกศิษย์จะเป็นอย่างไร มีความไว้วางใจในตัวลูกศิษย์และสามารถทำให้ลูกศิษย์ไว้วางใจในตัวอาจารย์ได้คือสามารถเก็บความลับได้ สร้างแรงบันดาลใจครูสามารถสอนให้ลูกศิษย์เกิดความคิดแปลกใหม่และผลักดันให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นได้ ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคลคือการที่ครูต้องยอมรับความคิดเห็นในลูกศิษย์ทุกคน
        “ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ  ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นว่าครูต้องหาหนังสือดีๆมาอ่านทำไมถึงต้องหาหนังสือที่ขายดีที่สุดมาอ่าน เพราะหนังสือที่ขายดีต้องมีสิ่งท่าสนใจ มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่แน่นอน
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูต้องมีความทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากโลกปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะครูต้องสามารถนำความรู้ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูต้องมีความรู้ในตัวเด็กเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาเด็กได้ หากเด็กคนใดมีปัญหาก้อสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูต้องเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก ไม่ปิดกั้นการเป็นผู้นำ ต้องให้เด็กเกิดทักษะที่จะเป็นผู้นำได้
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อจัดการเรียนการสอนก็ต้องมีการจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กทำงานรวมกลุ่มกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีและมีการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง เพราะการเชิญบุคคลภายนอกหรือวิทยาการมาสามรถทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้มากและเป็นความรู้ที่แท้จริง
 7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูต้องสอนให้เด็กคิดและลงมือทำ ในสิ่งแปลกใหม่ ตั้งโจทย์ที่แปลกใหม่เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาได้มากขึ้น


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า

   จากการเรียนวิชาการบริการจัดการในชั้นเรียน ได้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น มีความรู้ที่ไม่อยู่ในกรอบ คือสามารถเรียนรู้ได้มากว่าในห้องเรียน คือการเรียนแบบออนไลน์ก็ว่าได้ ได้เกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาด้วยตัวเองเยอะ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ หากมีการเรียนรู้แบบนี้สามารถทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากในโลกการเปลี่ยนแปลงวันข้างหน้ามีการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ต เราก็มีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีอยู่บ้างจึงเป็นการง่ายที่จะนำไปใช้ต่อไป
ถ้าถาว่าอยากได้เกรดอะไร อยากได้เกรด เพราะในการเรียนวิชานี้ดิฉันมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน แต่อาจจะมีบ้างครั้งที่มาสายไปบ้าง แต่ก็ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ ในการทำงานส่งบ้างครั้งอาจเป็นเพราะที่หอไม่มีอินเตอร์เน็ตหากทำงานส่งในห้องไม่ทันจึงทำให้การทำงานล่าช้าไปบ้างแต่งานทุกชิ้นที่ทำส่งเกิดจากการคิด วิเคราะห์ด้วยตนเองทั้งสิ้นอาจจะมีบ้างครั้งที่เข้าไปอ่าของคนอื่นแต่ไม่ได้คัดลอก แต่จะนำมาเป็นแนวทางในการตอบ โดยใช่ความคิดของตน สิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปทั้งหมดเป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้น หากมีสิ่งใดผิดพลาดประการใด ก็แล้วแต่อาจารย์จะพิจารณาในการให้คะแนน ขอบอบพระคุณอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธ์ ที่ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษามาโดยตลอดภาคการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น